วันสุนทรภู่ วันที่ ๒๖ มิถุนายน
ชีวประวัติ สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลา ๒ โมงเช้าหรือตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ เวลา ๐๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ
ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง
เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม
เด็กชายภู่โตอยู่ในวังหลัง และได้เรียนหนังสือกับพระในสำนักชีปะขาว (ปัจจุบันคือวัดศรีสุดาราม)
ตามประเพณีของไทยที่ส่งลูกหลานเข้าไปเรียนหนังสือในวัด
ประวัติสุนทรภู่ช่วงก่อนรับราชการ
พ.ศ. ๒๓๒๙ - ๒๖ มิถุนายน (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
พ.ศ. ๒๓๔๙ - นายภู่เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง จึงได้แต่ง นิราศเมืองแกลง
พ.ศ. ๒๓๕๐ - นายภู่รับราชการเป็นมหาดเล็ก ในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ตามเสด็จไปบูชาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ในวันมาฆบูชาปีนั้นจึงได้แต่งนิราศพระบาท
ประวัติสุนทรภู่ช่วงที่รับราชการในรัชกาลที่ ๒ อยู่ ๘ ปี
พ.ศ. ๒๓๕๙ - เข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) นายภู่เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์
ได้รับตำแหน่งเป็น “ขุนสุนทรโวหาร” เพราะ ทดลองแต่งกลอนบทละครรามเกียรติ์ต่อจากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
ทรงพระกรุณาฯ ซึ่งเป็นช่วงที่สุนทรภู่มีชื่อเสียง มีชีวิตการงานที่รุ่งโรจน์ ได้รับเลื่อนเป็น “หลวงสุนทรโวหาร”
ได้รับบ้านประจำตำแหน่งที่ท่าช้าง (อยู่ใกล้วังท่าพระ) มีหน้าที่คอยถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์วรรณคดีต่างๆ
ที่ได้เลื่อนขั้นเพราะแต่งบทกลอนตอนนางสีดาผูกคอตาย และศึกสิบขุนสินรถ บรรยายฉากรถศึกของทศกัณฐ์ได้ดี
พ.ศ. ๒๓๖๗ - เป็นช่วงปลายรับราชการในรัชกาลที่ ๒ คาดว่าสุนทรภู่แต่ง “สวัสดิรักษา” ระหว่างที่ถวายงาน
เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒
ประวัติสุนทรภู่ช่วงที่บวชอยู่ ๑๘ ปี
พ.ศ. ๒๓๗๒ - ระหว่างเปลี่ยนรัชกาล สุนทรภู่บวชเป็นพระภิกษุและได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลาง
คาดว่าระหว่างนั้นได้แต่งเรื่อง เพลงยาวถวายโอวาท และได้แต่งโคลงกลอนนิทานไว้มากมาย อาทิ พระอภัยมณี, ลักษณวงศ์, สิงหไตรภพ
พ.ศ. ๒๓๘๕ - ก่อนลาสิกขา พบว่าพระสุนทรภู่ได้แต่ง รำพันพิลาป ซึ่งเป็นผลงานที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยในปี พ.ศ.๒๔๘๐
ในเกือบ ๑๐๐ ปีถัดมา โดยพระยาราชสมบัติ (เอิบ บุรานนท์) เป็นผู้มอบต้นฉบับที่พบให้แก่หอสมุดแห่งชาติ นักประวัติศาสตร์สมัยนั้น จึงได้ทราบเป็นหลักฐานชีวประวัติของสุนทรภู่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พ.ศ. ๒๓๙๔ - เปลี่ยนรัชกาลอีกครั้ง พระสุนทรภู่ลาสิกขา รับราชการเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร
ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ได้แต่งนิราศ 2 เรื่อง คือ นิราศเมืองเพชร และ นิราศพระประธม
บ้างก็ว่าบั้นปลายชีวิตสุนทรภู่อาศัยอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอพระยามณเฑียรบาล (บัว)
ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ.๒๓๙๘ สิริอายุ ๖๙ ปี แต่ข้อมูลจากสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน ระบุว่า
สุนทรภู่ซื้อบ้านอยู่ย่านธนบุรี และเสียชีวิตที่บ้านนี้เมื่ออายุ ๘๐ปีเศษ
ผลงานสุนทรภู่ที่โดดเด่น คือ “พระอภัยมณี”
บทกลอนนิทานเรื่องนี้ได้รับการยกย่องครั้งแรกจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน และ
เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ และในปี พ.ศ.๒๕๒๙ สุนทรภู่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
ด้านวรรณกรรม
ความโดดเด่นของ “พระอภัยมณี” แสดงให้เห็นว่าสุนทรภู่เป็นผู้ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมสมัยใหม่จากชาวต่างชาติที่เข้ามาเผยแพร่ในพระนครในสมัยนั้น คาดว่าสุนทรภู่จะพูดภาษาอังกฤษได้
และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างชาติ ดังสังเกตเห็นได้จากตัวละครผู้หญิงที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ เป็นเจ้าเมือง และมีสิทธิ์ตัดสินใจ
แตกต่างจากสตรีไทยในยุคนั้น ที่จะต้องอยู่กับเหย้า เฝ้ากับเรือน ไม่มีบทบาทขึ้นมาทำงานเทียบเท่าผู้ชายได้
ผลงานสุนทรภู่ทั้งหมด นิราศ ๙ เรื่อง ได้แก่
นิราศเมืองแกลง (พ.ศ.๒๓๔๙) นิราศอิเหนา (คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ ๓)
นิราศพระบาท (พ.ศ.๒๓๕๐) รำพันพิลาป (พ.ศ.๒๓๘๕)
นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๑) นิราศพระประธม (พ.ศ.๒๓๘๕)
นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๔) นิราศเมืองเพชร (พ.ศ.๒๓๘๘)
นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๕)
นิทานกลอน ๕ เรื่อง สุภาษิต ๓ เรื่อง
โคบุตร สวัสดิรักษา
พระอภัยมณี เพลงยาวถวายโอวาท
พระไชยสุริยา สุภาษิตสอนหญิง
ลักษณวงศ์
สิงหไกรภพ
บทละคร ๑ เรื่อง อภัยนุราช
บทเสภา ๒ เรื่อง ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม , เสภาพระราชพงศาวดาร
บทเห่กล่อมพระบรรทม ๔ เรื่อง เห่เรื่องพระอภัยมณี , เห่เรื่องโคบุตร , เห่เรื่องจับระบำ , เห่เรื่องกากี
ที่มาของวันสุนทรภู่
วันที่ ๒๖ มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง ๑๒,๗๐๖ บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต (Iliad)) และโอเดดซี (Odyssey) ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง ๑๒,๕๐๐ บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศ ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ โดยสรุป คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่ให้ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิด เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่ หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดให้ วันที่ ๒๖มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสุนทรภู่
เครดิตภาพ
https://graphicbuffet.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99/
https://www.google.com/imgres?imgurl=https%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fwp-content%2Fuploads%2F2016%2F06%2F3Q2A9131.jpg&imgrefurl=https%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fprachachuen%2Fprachachuen-scoop%2Fnews_1007935&tbnid=tKteZ-XEKPUm_M&vet=12ahUKEwiT8PPOrq3xAhXPE7cAHW9pCS8QMygBegUIARC6AQ..i&docid=eirR89SvbSsTXM&w=2880&h=1920&hl=th&safe=images&ved=2ahUKEwiT8PPOrq3xAhXPE7cAHW9pCS8QMygBegUIARC6AQ