วันงดสูบบุหรี่โลก

31 พฤษภาคม 2565, 17:13 น.

ตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุก ๆ ประเทศตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่
                 ในปี 2548 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ คือทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่ ( Health Professionals And Tobacco Control) โดยการสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุขอันได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ รวมถึงแพทย์เฉพาะทางต่าง ๆ พยาบาล เภสัชกร และนักวิชาการสาธารณสุข แสดงบทบาทในการเป็นผู้นำในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2565 คือ "บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม"

โทษของควันบุหรี่แบ่งออกเป็น

  • ควันบุหรี่มือหนึ่ง คือควันที่ผู้สูบดูดเข้าสู่ร่างกายด้วยตนเอง
  • ควันบุหรี่มือสอง คือควันที่ผู้สูบพ่นออกมาและฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่โดยรอบที่สูดดมเข้าไปและได้รับสารพิษ
  • ควันบุหรี่มือสาม เป็นควันที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ เสื้อผ้า และวัตถุอื่นๆ ทำให้สารพิษเกาะติดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อผู้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น

ในเรื่องของควันบุหรี่มือสามซึ่งเป็นสารตกค้างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยากับอากาศและผู้อยู่อาศัยสูดดมเข้าไป ก็ทำให้อันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งสารพิษจากควันบุหรี่มือสามเป็นชนิดที่เหมือนกันกับควันมือหนึ่งและมือสองทั้งหมด ที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งกว่า 200 ชนิดด้วยกัน

จากการศึกษายังพบว่าใน 75 ครอบครัวมีเด็กที่ตรวจพบตรวจพบสารโคตินินในปัสสาวะเด็กสูงกว่าปกติ ซึ่งโคตินิน คือตัวบ่งชี้ถึงการที่ร่างกายได้รับนิโคตินจากบุหรี่ คาดว่าไม่ได้มาจากการเดินผ่านควันบุหรี่แล้วสูดดมเข้าไป แต่เป็นการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ โดยอัตราที่ตรวจพบนั้นอยู่ที่ 42% ของ 75 ครอบครัว

นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อควันบุหรี่มือสาม ยังพบว่าจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามอพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นไปได้ว่าในห้องพักอาศัยของตนเองอาจไม่มีผู้สูบบุหรี่ แต่ถ้าหากห้องข้างๆ มีการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ก็สามารถเล็ดลอดทางหน้าต่าง ท่อระบายน้ำ และอื่นๆ มาได้อย่างง่ายดาย จากการศึกษายังพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดฯ 1 ใน 4 กว่า 68% มีการตรวจพบสารนิโคตินในเด็ก ขณะที่ผู้อาศัยในบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตรวจพบสารนิโคตินในเด็กเพียง 30% เท่านั้น